Exponential Moving Average (EMA)


Exponential Moving Average (EMA)
          Exponential Moving Average คือ เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กโปเน็นเชียลนั้นจะมีความว่องไวกว่าค่าเฉลี่ยแบบง่าย Simple Movign Average (SMA) โดยความชันจะเปลื่ยนแปลงเร็วกว่า SMA



การใช้งาน : ปรับให้ราคาเรียบ (Smooth) และ ใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดในอดีตที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถใช้คาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นได้เพราะ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นต้องใช้ข้อมูลในอดีตในการสร้างนั่นเอง รวมถึงสามารถใช้บอกแนวรับ – แนวต้านของหุ้นและจุดซื้อ-ขายเบื้องต้นได้อีกด้วย

วิธีการใช้งาน
ลากเมาส์ไปที่ปุ่มฟังก์ชัน ( F ) แล้วทำการพิม ema (ตามลูกศรสีเหลือง) เพื่อหาฟังก์ชัน Exponential Moving Average( ตามลูกศรสีแดง )

ความว่องไวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
      ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ้ายิ่งใช้จำนวนวันที่มากขึ้น จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มนั้นช้าลงไปด้วย เช่น ความว่องไว EMA (5) > EMA (20) > EMA (50) เป็นต้น
สรุปค่าเฉลี่ย EMA ที่เหมาะสมคือค่าเฉลี่ยที่ใช้จำนวนข้อมูลน้อย

เส้นค่าเฉลี่ยเร็ว
ข้อดี :  เส้น EMA ที่ใช้จำนวนวันน้อยนั้นก็คือ เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว
ข้อเสีย : หากช่วงนั้นตลาดผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ความเร็วของค่าเฉลี่ยนี้จะเป็นข้อเสียคือทำให้เราหาจังหวะเข้าที่ผิดพลาด (เนื่องจากมันเปลี่ยนเร็วไป การขึ้นๆ ลงๆ ของตลาดนั้น บางทีจะเรียกว่า ตัวรบกวน หรือ Noise เส้นค่าเฉลี่ยช้า)
ข้อดี :  เส้น EMA ที่ช้านั้นจะช่วยลด Noise ที่เกิดขึ้นทำให้ความผิดพลาดลดน้อยลง เพราะ เส้นที่ได้นั้นใช้ข้อมูลในการคำนวณมากกว่า ทำให้กำจัดความผันผวนออกไปได้
ข้อเสีย : เนื่องจากโดยปกติ ค่าเฉลี่ยนั้นจะมีความล่าช้าอยู่แล้วในตัว เพราะต้องใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณ หาก EMA นั้นยังช้าด้วยแล้วหากนำมาใช้ในการหาจุดซื้อ-ขายนั้นจะทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรได้
โดยทั่วไป ระยะเวลาที่นิยมใช้ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนักลงทุนแต่ละคนมากกว่าว่าตนนั้น เทรดสั้น หรือ เทรดยาว แต่ถ้าจะให้แบ่งว่าขนาดไหน เรียกว่า ระยะยาว ขนาดไหนเรียกว่า ระยะสั้น เราสามารถแบ่งเป็น ระยะสั้น 5-20 วัน ระยะกลางจะเป็น 50 – 70 วัน และสุดท้าย ระยะยาว 100 – 200 วัน

การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่บอกแนวโน้ม



                           ฝั่งซ้าย(Zone A) เป็นแนวโน้มขาขึ้น      |       ฝั่งขวา(Zone B) เป็นแนวโน้มขาลง

เพิ่มเติม :  สำหรับการใช้ MA เส้นเดียวมาประยุกต์ในการซื้อขาย คือ ซื้อ เมื่อแท่งเทียนทะลุ MA ขึ้น และ ขาย เมื่อ แท่งเทียนหลุดเส้น MA ลง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขั้นตอนการทดลองใช้และคู่มือการใช้ cTrader เบื้องต้น

การใช้งานและฟังก์ชันต่างๆของโปรแกรม cTrader

เทคนิคการดูความสอดคล้องของกราฟ Multiple Time Frame